นางสาวเจนจิรา สีหราช*
ภาพที่ 1 การจัดแสดงแบบจำลองโรงภาพยนตร์บุศยพรรณ ณ พิพิธบางลำพู
ย่านบางลำพู เป็นย่านชุมชนเก่าแก่ เติบโตควบคู่มาพร้อมกับการก่อร่างสร้างพระนครในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นแหล่งอาศัยของผู้คนหลากหลายเชื้อชาติ มีศาสนสถานสำคัญ วังที่ประทับของเจ้านาย รวมทั้งบ้านเรือนของบรรดาขุนนางข้าราชการตั้งอยู่มากมายในเวลาต่อมาย่านบางลำพูก็ได้รับการปรับเปลี่ยนไปสู่ความเจริญทางวิทยาการและความทันสมัยหลาย ๆ ด้าน ทั้งด้านการค้า และการคมนาคม มีถนนหลายสายตัดผ่าน ส่งผลให้การเดินทางสัญจรไปมาสะดวกยิ่งขึ้น กิจการตลาด ร้านค้า แหล่งบันเทิง และโรงมหรสพต่าง ๆ ได้ขยายตัวอย่างมาก ย่านบางลำพูจึงกลายเป็นย่านธุรกิจการค้าที่สำคัญแห่งหนึ่งในพระนคร เปรียบเสมือนแหล่งรวมตัวและพบปะของผู้คน รวมทั้งเป็นแหล่งรวมมหรสพแหล่งใหญ่ใจกลางพระนคร ไม่ว่าจะเป็นบ้านดนตรีไทย โรงลิเก โรงละคร และโรงภาพยนตร์ ด้วยเหตุดังกล่าว ย่านบางลำพูจึงคึกคักเต็มไปด้วยผู้คนดังคำกล่าวที่ว่า "บางลำพูไม่เคยหลับใหล ตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน” กำเนิดภาพยนตร์ในประเทศไทย

ภาพที่ 4 ป้ายโฆษณาบริเวณป้อมมหากาฬ ถ่ายเมื่อ พ.ศ. 2514
ภาพที่ 5 รถแห่โฆษณา ภาพยนตร์ เรื่อง อินทรีทอง

- ภาพยนตร์ เรื่อง ปางเสือไห้ ฉายเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2493
- ภาพยนตร์ เรื่อง แดนดาวโจร ฉายเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2493 สร้างโดย บริษัท สนั่นศิลป์ภาพยนตร์ ภาพยนตร์ เรื่อง มือพิฆาต ฉายเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2494 สร้างโดย บริษัท เลิศภาพยนตร์
- ภาพยนตร์ เรื่อง บึงสามพัน ฉายเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2495 สร้างโดย บริษัท มิตรภาพยนตร์
- ภาพยนตร์ เรื่อง เจ้าชู้แสนกล ฉายเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2495 สร้างโดย บริษัท มิตรภาพยนตร์



โรงภาพยนตร์บุศยพรรณ แต่เดิมมีชื่อว่า ตงก๊ก หรือ โรงหนังท่าเรือตงก๊ก ตั้งอยู่บริเวณเชิงสะพาน นรรัตน์สถาน ซอยสามเสน 2 เป็นโรงภาพยนตร์ของ บริษัท ภาพยนตร์ตงฮั้ว จำกัด ซึ่งมีโรงภาพยนตร์ในเครือ อีกหลายโรง เช่น โรงภาพยนตร์ตงก๊ก ตรอกเจ้าสัวเนียม โรงภาพยนตร์ตงก๊ก บางรัก และโรงภาพยนตร์ตงก๊ก บางลำพู[9] หรือที่เรียกกันในภายหลังว่า "โรงภาพยนตร์บุศยพรรณ” ไม่ปรากฏปีที่สร้างแน่ชัดจากคำบอกเล่าของคุณโดม สุขวงศ์ กล่าวว่าอาคารมีความเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เดิมเป็นโรงเสก็ตที่หนุ่มสาวสมัยนั้น นิยมไปเล่นกัน แม้จะนุ่งโจงกระเบนภาพยนตร์ที่นำมาฉายมีทั้งภาพยนตร์ไทยและต่างประเทศ ซึ่งภาพยนตร์ ที่ฉายในระยะแรกเป็นแบบภาพยนตร์ไร้เสียง ลักษณะเด่นของโรงภาพยนตร์บุศยพรรณ คือ มีการฉายภาพยนตร์ทั้งกลางวันและกลางคืน โดยในช่วงกลางวันราคาตั๋วเพียงแค่ 1 สตางค์ เท่านั้น ส่วนราคาตั๋วกลางคืน คนละ 5, 10, 15 สตางค์ แตกต่างกันไปตามที่นั่ง




[2]ศรีบางลำภู เป็นชื่อที่ปรากฏทั่วไปตามประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์
[3]ตลาดทุเรียน ตั้งอยู่บริเวณเชิงสะพานนรรัตน์สถาน เป็นตลาดเก่าตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ขายสินค้าจำพวกผลไม้ และผลิตผลทางการเกษตรนานาชนิด ปัจจุบัน คือ ตลาดนรรัตน์สถาน
[4]ภาพยนตรานุกรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2470-2499.กรุงเทพฯ : หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน), 2557.15,17,25,26,34.
[5]สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร.แผนที่ชุมชนกรุงรัตนโกสินทร์,(กรุงเทพฯ: สำนักผังเมือง, 2547),46.
[6]ญาณธร ปุญรัตนรังสี.กิจกรรมพิเศษกับการส่งเสริมรายการวิทยุ,(รายงานโครงการเฉพาะบุคคลคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2545), 59.
[7]โดม สุขวงศ์.ประวัติภาพยนตร์ไทย,(กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา), 2533, 6-7.
[8]บริษัท พยนตร์พัฒนากร จำกัด จัดตั้งขึ้นราวปี 2456 และจดทะเบียนเป็นบริษัทภาพยนตร์แห่งแรกของไทย เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2459 มีนายเซียว ซองอ๊วน สีบุญเรือง เป็นผู้จัดการ
[9] ญาณธร ปุญรัตนรังษี,เรื่องเดียวกัน, 56.
[10]ตลาดนานา ตั้งอยู่ทางเหนือของสะพานนรรัตน์สถาน ตั้งชื่อตามเจ้าของตลาด คือ คุณเล็ก นานา ปัจจุบันคือโรงแรมนูโว